วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในเอเชีย

       
                                                        ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในเอเชีย

 ความเป็นมา

            ในปัจจุบัน ภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นเป็นประจําในหลายๆประเทศ หลายภูมิภาค แต่
นับวันยิ่งทวีจํานวนครั้งที่เกิด บ่อยครั้งกลับเพิ่มระดับความรุนแรงยิ่งขึ้น ดังปรากฏเป็นข่าวอยู่เสมอ
จนเป็นที่ประจักษ์ว่าเหตุการณ์แต่ละครั้งได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนจํานวนมาก ทั้งการสูญเสียทาง
วัตถุ คือ ทรัพย์สินสูญหาย ที่อยู่อาศัยถูกทําลาย สภาพแวดล้อมที่ดินทําการเกษตรเปลี่ยนแปลงหรือ
ถูกทําลายเสียหายเป็นวงกว้าง ยังไม่นับถึงผลกระทบความเจ็บป่วยทางร่างกาย จิตใจของผู้ที่ประสบ
ภัย แม้กระทั่งการเสียชีวิตของประชาชนในพื้นที่ที่ประสบภัยที่บางครั้งมีจํานวนมาก จนไม่สามารถ
อยู่ในพื้นที่เดิมได้อีก ต้องอพยพโยกย้ายไปในที่ใหม่
             การเกิดภัยพิบัติย่อมเป็นความสูญเสียที่ส่งผลกระทบทั้งผู้ที่ประสบภัย ผลกระทบต่อ
ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงหรือพื้นที่ที่มีผู้ประสบภัยอพยพไปอยู่ ผลกระทบต่อประเทศที่เกิดภัย
พิบัติในการใช้ทรัพยากร บุคลากรในการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย ผลกระทบต่อประเทศ
เพื่อนบ้านหรือนานาชาติหากเป็นภัยพิบัติขนาดใหญ่และภัยพิบัติเหล่านี้นับวันจะทวีความรุนแรงขึ้น
เช่น น้ําท่วมในหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย ผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติยังทวีความรุนแรง
ขึ้นอีกจากสมดุลทางธรรมชาติที่เสียไป ดังเช่นเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิที่เกิดในเอเชียแปซิฟิคก่อน
หน้านี้ซึ่งทําให้เกิดความเสียหายต่อประเทศต่างๆ 12 ประเทศ ส่งผลกระทบต่อประชาชนกว่า 1 ล้าน
คน หรือล่าสุดพายุนาร์กิสที่เกิดในประเทศพม่า แผ่นดินไหวในมณฑลเสฉวน ประเทศจีน ที่สร้าง
ความสูญเสียต่อประชาชนจํานวนมาก ซึ่งการฟื้นฟูต้องใช้เวลาและทรัพยากรมากมายกว่าจะเข้าสู่
สภาวะที่ใกล้เคียงกับสภาวะเดิม หรือบางครั้งก็ไม่อาจกลับคืนสู่สภาพปกติได้อีก ภัยพิบัติทาง
ธรรมชาติจึงเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่อาจมองข้ามได้เลย
             ความก้าวหน้าทางวิชาการในปัจจุบัน ช่วยให้รู้สาเหตุการเกิดขึ้นของภัยพิบัติทางธรรมชาติ
ส่วนใหญ่แล้ว แต่ต้องยอมรับว่า ภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ ภัยพิบัติทาง
ธรรมชาติจึงเป็นชะตากรรมที่มนุษย์ไม่อาจเลือกได้ รวมทั้งต้องมีความตระหนักถึงความจําเป็นใน
การลดภาวะที่จะไปซ้ําเติมหรือเร่งการหาวิธีป้องกันภัยพิบัติต่างๆ



                                                     ภัยพิบัติที่เกิดจากแผ่นดินไหว



                                         
                                           ภัยพิบัติที่เกิดจากภูเขาไฟปะทุหรือภูเขาไฟระเบิด
                                          



                                                           
ภัยพิบัติที่เกิดจากสึนามิ




                                                         ภัยพิบัติที่เกิดจากนำท่วม



 ภัยพิบัติที่เกิดจากการกัดเซาะชายฝั่ง


ภัยพิบัติที่เกิดจากแผ่นดินถล่ม





ภัยพิบัติทางพายุ

            ดังนั้น มนุษย์ทุกคนควรตระหนักและเกรงกลัวต่อภัยพิบัติ หรือ ภัยธรรมชาติต่างๆที่กำลังเกิดขึ้นซึ่งเป็นสัญญาณคอยเตือนให้มนุษย์ทุกคนรู้ว่าโลกของเรานั้นใกล้จะถึงวันที่จะจบสิ้น หรือ ถึงวันที่โลกจะต้องอวสานแล้วจริงๆ ถ้ามองดูแล้วปัญหาของภัยพิบัติธรรมชาติต่างๆ สาเหตุก็มาจากการกระทำของมนุษย์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการตัดไม้ การสร้างโรงงานอุตสาหกรรม การสร้างเขื่อน และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง ซึ่งการแก้ปัญหาก็น่าจะไม่ยากถ้ามนุษย์ทุกคนมีความร่วมมือกันที่จะช่วยยับยั้งหรือลดการเกิดภัยพิบัติโดยการหันมาช่วยกันดูแลโลกของเราให้คงอยู่ต่อไปด้วยวิธีการง่ายๆ เช่น การปลูกต้นไม้ และหาวิธีการต่างๆ ที่จะทำให้โลกของเราอยู่กับเราไปนานๆ เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

สาเหตุของภัยพิบัติทางธรรมชาติ

   
      สาเหตุ ของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความแห้งแล้งอย่างรุนแรงเกิดอุทกภัยนำท่วม พายุฝนฟ้าคะนองเป็นประจำ แผ่นดินถล่มแผ่นดินไหวในหลายประเทศ หรือเกิดจากพายุอย่างรุนแรงและฉับพลัน ภัยธรรมชาติเหล่านี้ได้ทำลายทั้งชีวิตและทรัพย์สินซึ่งมาจากสาเหตุหลายประการ
      1. เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโลกตามกาลเวลา โลกของเราถูกสร้างมานานหากเปรียบป็นคนคงชรามากและใกล้จะจบสิ้นแล้ว ทุกสิ่งจึงย่อมเปลี่ยนแปลงจะให้คงที่หรือคงอยู่เดิมย่อมไม่ได้ ซึ่งเราจะสังเกตุได้จากสัญญาณต่างๆ ที่ปรากฎมากขึ้นเรื่อยๆ
      2. เกิดจากการกระทำของฝีมือมนุษย์ เช่น การเจาะชั้นนำแข็งและการปฎิวัติอุตสาหกรรมได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นเรียกอีกอย่างว่าภาวะโลกร้อนจนทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เช่น เวลาหนาวก็หนาวจัด เวลาแล้งก็แล้งมาก บางครั้งอาจทำให้เกิดพายุ ฝนฟ้าคะนองแผ่นดินถล่ม หรือ แผ่นดินไหวอย่างฉับพลันและแถบที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ แถบขั้วโลกทำให้นำแข็งบนยอดเขาสูงละลายอย่างรวดเร็วทำให้ปริมาณนำทะเลเพิ่มสูงขึ้นทุกๆทวีปส่วนทวีปเอเชียอุณหภูมิจะสูงขึ้นจนทำให้เกิดฤดูกาลที่แห้งแล้ง มีนำท่วมทำให้ผลผลิตทางอาหารลดลงและสภาวะทางอากาศก็แปรปรวนจนอาจก่อให้เกิดพายุและภัยพิบัติต่างๆมากมายเป็นต้น



วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

ความหมายของ ภัยพิบัติ


      


ภัยพิบัติ หมายถึง สิ่งที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ 
      ธรรมชาติ ในความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานหมายถึง สิ่งที่เกิดมีและเป็นอยู่ตามธรรมดาของสิ่งนั็นๆ ภาพภูมิประเทศ. ว. ที่เป็นไปเองโดยมิได้ปรุงแต่งเช่น สีธรรมชาติ แต่ในที่นี้จะพูดถึงภัยพิบัติ หรือ คำในภาษาอังกฤษ (Natural Disasters) คือ เหตุการณ์ที่อาจเกิดจากธรรมชาติหรือเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมของโลก อาจเกิดขึ้นเนื่องจากปัจจัยทางธรรมชาติหรือจากการกระทำของมนุษย์และได้ส่งผลให้เกิดปัญหาหรือภัยพิบัติต่างๆทั้งในประเทศและภูมิภาคอื่นๆ ของโลก เช่น แผ่นดินไหว การระเบิดภูเขาไฟ พายุในรูปแบบต่างๆรวมไปถึงการเกิดอัคคีภัย เป็นต้น 
     ภัยพิบัติทางธรรมชาตินั้นเกิดขึ้นได้เสมอทุกที่ทุกเวลา ซึ่งมนุษย์เราทุกคนจะต้องเตรียมรับมือกับมัน ภัยพิบัติทางธรรมชาติสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากมนุษย์ เป็นผู้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ โดยมิได้ทดแทนสิ่งที่ใช้หรือทำลายไปสักวันมันคงต้องหมดไปจากโลกของเรา เมื่อถึงวันนั้นมนุษย์เราก็คงอยู่ไม่ได้แล้ว
ด้วยเหตุนี้เองมนุษย์เราควรคิดได้แล้วว่า ถ้าวันหนึ่งทรัพยากรที่เราใช้อยู่ทุกๆวันนั้น เกิดหมดไปจริงๆเราจะทำอย่างไร เมื่อถึงวันนั้นมนุษย์ทุกคนคงจะอยู่ไม่ได้เหมือนกัน
     ดังนั้น เราควรที่จะหาวิธีตางๆเพื่อทดแทนทรัพยากรธรรมชาติที่เราใช้ไปให้มิใช้จนถึงรุ่นลูกรุ่นหลานของเราต่อไป....